เรื่องของจุลินทรีย์และโพรไบโอติกส์

เรื่องของจุลินทรีย์และโพรไบโอติกส์

Q: จุลินทรีย์ คืออะไร ?

A: จุลินทรีย์คือเซลล์มากกว่า 50% ในร่างกายของมนุษย์ โดยมีทั้งชนิดดี และชนิดไม่ดี อาศัยอยู่รวมกัน เมื่อมนุษย์เรามีพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น ดื่มเหล้า เครียด ทานยาปฏิชีวนะ ทานหวาน ทานมัน ทานอาหารแปรรูป ฯลฯ จะส่งผลให้จุลินทรีย์ไม่ดี มีมากเกินไป ทำให้ระบบนิเวศน์จุลินทรีย์เสียสมดุล เป็นที่มาของอาการป่วยเรื้อรัง และร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคทางภูมิคุ้มกัน ภูมิแพ้ เผาผลาญบกพร่อง เบาหวาน ไขมันสูง มะเร็ง นอนไม่หลับ ขับถ่ายผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งอาการเจ็บป่วยต่างๆของมนุษย์เรา กว่า 90% มีจุดเริ่มต้นจากจุลินทรีย์เสียสมดุล


Q: โพรไบโอติกส์ (Probiotics)?

A: จุลินทรีย์ชนิดดี ที่สามารถนำมาทำเป็นอาหารเสริม รับประทานเข้าไปได้ ช่วยจะช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี และคืนความสมดุลของระบบนิเวศน์จุลินทรีย์โดยรวม


Q: พรีไบโอติกส์ (Prebiotics)? 

A: สิ่งไม่มีชีวิต เป็นอาหารของโพรไบโอติกส์ ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ จะถูกย่อยสลายโดยโพรไบโอติกส์ กระตุ้นการเติบโตและการทำงานของเหล่าโพรไบโอติกส์


Q: ซินไบโอติก (Synbiotic)? 

A: ผลิตภัณฑ์ซึ่งมีทั้งโพรไบโอติกส์ และพรีไบโอติกส์(อาหารของ โพรไบโอติกส์) ช่วยทำให้โพรไบโอติกส์นั้นเจริญเติบโต และอยู่รอดได้ในระบบลำไส้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มจำนวนโพรไบโอติกส์และสร้างความแข็งแรงให้ลำไส้


Q: โพสต์ไบโอติกส์ (Postbiotics) ? 

A: สารจำพวก กรดไขมันสายสั้น เอนไซม์ เปปไทด์ ฯลฯ ที่เกิดจากการที่โพรไบโอติกส์ กิน พรีไบโอติกส์เข้าไปแล้วย่อยสลายออกมาเป็นสารเหล่านี้ ซึ่งสารเหล่านี้มีประโยชน์กับเราเพราะร่างกาย


Q: สามารถรับประทานยาอื่นๆคู่กับโพรไบโอติกส์ได้หรือไม่?

A: สามารถรับประทานคู่กันได้ โดยคร่าวแล้วโพรไบโอติกส์ถือเป็นสิ่งรับประทานที่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยปกติจะไม่มีผลจากการที่ผู้รับประทาน รับประทานยาควบคู่กันไป และควรรับประทานคู่กับยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยาปฏิชีวนะทำลายสมดุลจุลินทรีย์อย่างรุนแรง การรับประทานโพรไบโอติกส์ควบคู่ไปด้วยจึงช่วยลดความรุนแรงของจุลินทรีย์ที่เสียสมดุล


Q: โพรไบโอติกส์คุณภาพสูงเป็นอย่างไร?

A: ไม่มีข้อกำหนดตายตัว ว่าโพรไบโอติกส์คุณภาพสูง ควรมีลักษณะอย่างไร แต่อย่างน้อยที่สุด คุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคควรพิจารณา:

  1. สายพันธุ์: เหมาะสมสำหรับสภาวะร่างกายที่แตกต่างกันแต่ละบุคคล (Personalization) ประสิทธิภาพของการรับประทานโพรไบโอติกส์นั้น แตกต่างกันในแต่ละคน คนแต่ละคนมีจำนวนของแบคทีเรียไม่เหมือนกัน ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ ส่งผลต่อสุขภาพของคนๆนั้น การเลือกรับประทานโพรไบโอติกส์ โดยที่ไม่ทราบว่าความสมดุลของตัวผู้รับประทานเป็นอย่างไร จะทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาน่าพอใจน้อยลง ยกตัวอย่างเช่น ผู้ซื้อเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์ที่สูตรนั้นที่มีโพรไบโอติกส์ที่อยู่ในจุดสมดุลแล้วในลำไส้ แต่ไม่ได้มีสายพันธุ์ที่ร่างกายขาดสมดุล ย่อมได้ผลเป็นที่น่าพอใจน้อยกว่าเลือกสายพันธุ์ที่ร่างกายขาดจริงๆ เพราะฉะนั้นการเลือกทานโพรไบโอกติกส์ ที่สัมพันธ์กับสภาวพจุลินทรีย์ของแต่ละบุคคลเป็ฯสิ่งสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพให้ดีขึ้น
  2. ซินไบโอติกส์: อย่างที่ได้กล่าวด้านบน พรีไบโอติกส์นั้นเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์ เพื่อให้ โพรไบโอติกส์ทำงานได้ดีขึ้น ผลิตภัณฑ์จึงควรเป็นซินไบโอติกส์
  3. จำนวนชนิดของสายพันธุ์และโพรไบโอติกส์ที่มีชีวิต: ยิ่งมีจำนวนสายพันธุ์ของ โพรไบโอติกส์มาก โอกาสที่ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจจะยิ่งสูง เนื่องจากโอกาสที่สายพันธุ์ที่รับประทานเข้าไป จะไปทดแทนสายพันธุ์ที่มีน้อยหรือขาดหายไปในร่างกายของแต่ละคนจะยิ่งมากขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเลือกรับประทานโพรไบโอติกส์หลายสายพันธุ์ แต่หากสายพันธุ์เหล่านั้นไม่ได้เป็นสายพันธุ์ที่ร่างกายไม่มี หรือมีน้อย ซึ่งเป็นการเลือกผลิตภัณฑ์โดยไม่มีความแม่นยำ จะได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจนัก ในส่วนของจำนวนโพรไบโอติกส์นั้น (CFU) ยิ่งมีมาก ยิ่งดี อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีจำนวนมาก หากไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มีความทนทานต่อกรดมาก ผลลัพธ์อาจไม่ได้ดีขึ้นมากตามจำนวนโพรไบโอติกส์ที่มากขึ้น
  4. ความสามารถต้านทานกรด: ผลที่จะได้รับจากการทานโพรไบโอติกส์ ไม่ได้ขึ้นกับจำนวนและสายพันธุ์ของโพรไบโอติกส์เท่านั้น แต่ขึ้นกับว่าเมื่อโพรไบโอติกส์เข้าไปในร่างกายแล้ว กว่าจะลงไปถึงลำไส้นั้นจะเหลือรอดกี่% ในกรณีปกติ หากไม่มีคุณสมบัติที่ทนต่อกรด โพรไบโอติกส์ที่ลงไปในลำไส้อาจะเหลือรอดเพียง 70% เทียบอัตราการเหลือรอดมากกว่า 90% หากส่วนผสมนั้นทนต่อกรดได้
  5. ได้รับมาตรฐานการผลิตตามหลัก GMP และ ISO: Good Manufacturing Practices หรือ GMP นั้นเป็นหลักการผลิตที่ช่วยป้องกันการปนเปื้อนและการใช้ส่วนผสมที่ผิดในระหว่างการผลิตซึ่งเน้นไปที่การควบคุมคุณภาพสินค้าที่ถูกผลิต ในขณะที่ ISO คือ มาตรฐานสากล มีวัตถุประสงค์ในการให้หลักเกณฑ์ในการสร้างมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพโดยภาพรวมของผู้ผลิตมากกว่าแค่กระบวนการผลิต

Q: ไม่ควรรับประทานทานโพรไบโอติกส์เกินวันละเท่าไหร่?

A: การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาเรื่องการรับประทานโพรไบโอติกส์ส่วนใหญ่ ศึกษาในช่วงปริมาณ 20-40 พันล้าน CFU เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากในร่างกายของมนุษย์มีจุลินทรีย์เป็นหลายล้านๆตัว การรับประทานโพรไบโอติกส์ปริมาณเพียงหลัก หมื่น หรือ แสนล้าน CFU ต่อวันจึงเป็นจำนวนที่น้อยในเชิงเปรียบเทียบ ทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติกส์หลายยี่ห้อที่มีปริมาณมากถึง 100 พันล้าน หรือ 1 แสนล้าน CFU แล้ว แต่การรับประทานเข้าไปมากแล้วจะได้ผลหรือไม่นั้น ขึ้นกับว่าสายพันธุ์ที่รับประทานเข้าไปเหมาะสมกับแต่ละบุคคลหรือไม่


Q: มีผลข้างเคียงอะไรจากการทานโพรไบโอติกส์หรือไม่?

A: อาหารธรรมดาที่เรารับประทานกัน เช่น ชีส ซาวเออร์เคราท์ หรือ นัตโตะ ต่างมีโพรไบโอติกส์ทั้งสิ้น สำหรับผู้ที่รับประทานโพรไบโอติกส์ ในระยะแรก คือ ประมาณ 2-4 สัปดาห์ หากเป็นกรณีที่มีปัญหาความไม่สมดุลของแบคทีเรียในระบบย่อยอาหารมาก โดยส่วนใหญ่จะรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของการทำงานของลำไส้ ซึ่งอาจรวมถึงการมีแก๊สในท้องหรืออุจจาระมีกลิ่นแปลกไป ซึ่งหากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ควรดื่มน้ำและทานผักผลไม้มากขึ้น ร่วมกับการออกกำลัง หลังจากช่วงระยะเวลานี้แล้ว ซึ่งเป็นช่วงปรับสมดุล ความสามารถของระบบย่อยอาหารจะดีขึ้น การทำงานของลำไส้จะถูกปรับให้คงที่และเป็นปกติ หากคุณมีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือมีอาการป่วยที่รุนแรง ควรปรึกษาแพทย์


Q: ต้องใช้ระยะเวลานานขนาดไหนถึงจะเห็นผลจากการรับประทานโพรไบโอติกส์?

A: โดยปกติแล้ว แต่ละคนจะมีความหลากหลายในแง่ของปัจจัยทางร่างกาย หรือแม้แต่ความหนักของอาการ ซึ่งการแสดงผลของโพรไบโอติกส์จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ถึง 6 เดือน หรือนานกว่านั้นสำหรับผู้ที่มีความไม่สมดุลของจุลินทรีย์มาก แต่หากรับประทานโพรไบโอติกส์โดยไม่ทราบว่าชนิดที่รับประทานเข้าไปนั้น ตรงกับชนิดที่ร่างกายต้องการเพิ่มเสริมสมดุลจุลินทรีย์หรือไม่ อาจไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart

ไม่มีสินค้าในตะกร้า