เรื่องของจุลินทรีย์และโพรไบโอติกส์

Q: จุลินทรีย์ (microbiome) คืออะไร ?
Q: โพรไบโอติกส์ (Probiotics) คืออะไร ?
Q: พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร ?
Q: ซินไบโอติก (Synbiotic) คืออะไร ?
Q: โพสต์ไบโอติกส์ (Postbiotics) คืออะไร ?
Q: สารก่อมะเร็ง เกี่ยวกับจุลินทรีย์ก่อโรคอย่างไร?
Q: สามารถรับประทานยาอื่นๆคู่กับโพรไบโอติกส์ได้หรือไม่ ?
Q: โพรไบโอติกส์คุณภาพสูงเป็นอย่างไร ?
Q: ไม่ควรรับประทานโพรไบโอติกส์เกินวันละเท่าไหร่ ?
Q: มีผลข้างเคียงอะไรจากการทานโพรไบโอติกส์หรือไม่ ?
Q: ต้องใช้ระยะเวลานานขนาดไหนถึงจะเห็นผลจากการรับประทานโพรไบโอติกส์ ?
Q: คนท้องควรทานโพรไบโอติกส์หรือไม่?
Q: Gut microbiome มีความสำคัญกับระบบทางเดินอาหาร อย่างไร?
Q: ลำไส้ไม่แข็งแรง สังเกตอย่างไร?
Q: การตรวจ จุลินทรีย์ กับการตรวจ DNA ต่างกันอย่างไร?
Q: จุลินทรีย์เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ ผิวหนังอักเสบ แพ้อาหาร อย่างไร?
Q: ทำไมจุลินทรีย์เสียสมดุล จึงนำไปสู่โรคความดันสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดและหัวใจ
Q: Leaky Gut คืออะไร?
Q: จุลินทรีย์ในลำไส้ ลำไส้ และสมอง เชื่อมโยงกันอย่างไร?
Q: จะรู้ได้อย่างไรว่าจุลินทรีย์ลำไส้แข็งแรงหรือไม่ (ตอน 2)
Q: จะรู้ได้อย่างไรว่าจุลินทรีย์ลำไส้แข็งแรงหรือไม่ (ตอน 1)

A: จุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ฯลฯ ซึ่งร่างกายมนุษย์เป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์จำนวนมหาศาล  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลำไส้ซึ่งเป็นบริเวณที่มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด  โดยมีอยู่มากถึง 100 ล้านล้านเซลล์ ซึ่งมากกว่าจำนวนเซลล์ทั้งหมดในร่างกายถึง 10 เท่า

เมื่อจุลินทรีย์เหล่านี้อาศัยอยู่รวมกันเป็นอาณานิคมขนาดใหญ่ จึงเรียกว่า “ไมโครไบโอม” (Microbiome) และจุลินทรีย์เหล่านี้ มีทั้งชนิดดี และจุลินทรีย์ก่อโรค เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีจุลินทรีย์ไม่สมดุล หรือ มีจุลินทรีย์ก่อโรคมากเกินไป จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของอาการเจ็บป่วยกว่า 90% ในร่างกาย และจุลินทรีย์ทั้งหมดในร่างกายกว่า 70% อยู่ที่ลำไส้ จึงทำให้คนให้ความสนใจกับจุลินทรีย์ในลำไส้ (Gut Microbiome) 

แล้ว microbiome เหล่านี้มากจากไหนกัน?

การได้รับจุลินทรีย์กลุ่มแรกๆ ของเรานั้นขึ้นอยู่กับวิธีการเกิด หากเราคลอดโดยธรรมชาติ ก็จะได้รับจุลินทรีย์จากช่องคลอดของมารดา  แต่หากเราคลอดด้วยวิธีการผ่า เราก็จะได้รับจุลินทรีย์จากผิวหนังแทน  ดังนั้นการคลอดตามธรรมชาติจะช่วยให้ทารกได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่คลอดด้วยการผ่าท้อง  นอกจากนี้ในน้ำนมแม่ยังมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ น้ำตาลสายสั้น (human milk oligosaccharides (HMOs)) ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ (Prebiotics) ดังนั้นการที่เด็กทารกได้รับน้ำนมแม่ จึงเป็นการเสริมและเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไปในตัว ตามที่องค์การอนามัยโลก ประกาศว่าให้เด็กทารกกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน นั่นเอง

A: จุลินทรีย์ชนิดดี ที่สามารถนำมาทำเป็นอาหารเสริม รับประทานเข้าไปได้ ช่วยจะช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ก่อโรค และคืนความสมดุลของระบบนิเวศน์จุลินทรีย์โดยรวม การทานโพรไบโอติกส์ให้ได้ผลดี ต้องทานโพรไบโอติกส์ที่มีชีวิต มีปริมาณมากพอ และเลือกสายพันธุ์โพรไบโอติกส์ที่เหมาะสมกับร่างกายแต่ละคน ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจจุลินทรีย์ลำไส้ (Gut Microbiome Test) 

สนใจสั่งซื้อโพรไบโอติกส์ กดที่นี่

 

A: พรีไบโอติกส์ คือไฟเบอร์ชนิดหนึ่งที่นอกจากช่วยขับสิ่งตกค้างในลำไส้ได้แล้ว ยังช่วยให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ได้ดี และเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์ที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายและลำไส้สมดุล ลดอาการท้องผูก ท้องเสีย ขับถ่ายคล่องขึ้น

A: ผลิตภัณฑ์ซึ่งมีทั้งโพรไบโอติกส์ และพรีไบโอติกส์(อาหารของ โพรไบโอติกส์) ช่วยทำให้โพรไบโอติกส์นั้นเจริญเติบโต และอยู่รอดได้ในระบบลำไส้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มจำนวนโพรไบโอติกส์และสร้างความแข็งแรงให้ลำไส้

A: สารจำพวก กรดไขมันสายสั้น เอนไซม์ เปปไทด์ ฯลฯ ที่เกิดจากการที่โพรไบโอติกส์ กิน พรีไบโอติกส์เข้าไปแล้วย่อยสลายออกมาเป็นสารเหล่านี้ ซึ่งสารเหล่านี้มีประโยชน์กับเราเพราะร่างกาย

A: เมื่อจุลินทรีย์ในร่างกายเสียสมดุล มีจุลินทรีย์ก่อโรคเยอะ ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งจะสูงขึ้น เพราะมีสารก่อมะเร็งเพิ่มขึ้น จุลินทรีย์ตัวร้ายนี้เองจะย่อยสลายไขมันและโปรตีนที่ลำไส้เล็กย่อยและดูดซึมไม่หมด ทำให้บูดเน่า และกลายเป็นสารพิษ ตัวอย่างเช่น จุลินทรีย์ไม่ดี จะย่อยโปรตีนให้กลายเป็นอินโดล (Indole) ฟีนอล (phenol) และ อีไมด์ (imide) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมาก สารเหล่านี้ถูกส่งไปขจัดที่ตับ ถ้าความเข้มข้นสูง หรือสมรรถภาพตับไม่ดี สารอีไมด์ที่สลายไม่หมดจะทำปฏิกิริยากับไนไตรต์ในลำไส้กลายเป็น เอ็นไนโตรซามีน (N-nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งขั้นรุนแรงกว่า เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งได้ในอนาคต

 

A: สามารถรับประทานคู่กันได้ โดยคร่าวแล้วโพรไบโอติกส์ถือเป็นสิ่งรับประทานที่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยปกติจะไม่มีผลจากการที่ผู้รับประทาน รับประทานยาควบคู่กันไป และควรรับประทานคู่กับยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยาปฏิชีวนะทำลายสมดุลจุลินทรีย์อย่างรุนแรง การรับประทานโพรไบโอติกส์ควบคู่ไปด้วยจึงช่วยลดความรุนแรงของจุลินทรีย์ที่เสียสมดุล

A: ไม่มีข้อกำหนดตายตัว ว่าโพรไบโอติกส์คุณภาพสูง ควรมีลักษณะอย่างไร แต่อย่างน้อยที่สุด คุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคควรพิจารณา:

  1. สายพันธุ์: เหมาะสมสำหรับสภาวะร่างกายที่แตกต่างกันแต่ละบุคคล (Personalization) ประสิทธิภาพของการรับประทานโพรไบโอติกส์นั้น แตกต่างกันในแต่ละคน คนแต่ละคนมีจำนวนของแบคทีเรียไม่เหมือนกัน ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ ส่งผลต่อสุขภาพของคนๆนั้น การเลือกรับประทานโพรไบโอติกส์ โดยที่ไม่ทราบว่าความสมดุลของตัวผู้รับประทานเป็นอย่างไร จะทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาน่าพอใจน้อยลง ยกตัวอย่างเช่น ผู้ซื้อเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์ที่สูตรนั้นที่มีโพรไบโอติกส์ที่อยู่ในจุดสมดุลแล้วในลำไส้ แต่ไม่ได้มีสายพันธุ์ที่ร่างกายขาดสมดุล ย่อมได้ผลเป็นที่น่าพอใจน้อยกว่าเลือกสายพันธุ์ที่ร่างกายขาดจริงๆ เพราะฉะนั้นการเลือกทานโพรไบโอกติกส์ ที่สัมพันธ์กับสภาวพจุลินทรีย์ของแต่ละบุคคลเป็ฯสิ่งสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพให้ดีขึ้น
  2. ซินไบโอติกส์: อย่างที่ได้กล่าวด้านบน พรีไบโอติกส์นั้นเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์ เพื่อให้ โพรไบโอติกส์ทำงานได้ดีขึ้น ผลิตภัณฑ์จึงควรเป็นซินไบโอติกส์
  3. จำนวนชนิดของสายพันธุ์และโพรไบโอติกส์ที่มีชีวิต: ยิ่งมีจำนวนสายพันธุ์ของ โพรไบโอติกส์มาก โอกาสที่ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจจะยิ่งสูง เนื่องจากโอกาสที่สายพันธุ์ที่รับประทานเข้าไป จะไปทดแทนสายพันธุ์ที่มีน้อยหรือขาดหายไปในร่างกายของแต่ละคนจะยิ่งมากขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเลือกรับประทานโพรไบโอติกส์หลายสายพันธุ์ แต่หากสายพันธุ์เหล่านั้นไม่ได้เป็นสายพันธุ์ที่ร่างกายไม่มี หรือมีน้อย ซึ่งเป็นการเลือกผลิตภัณฑ์โดยไม่มีความแม่นยำ จะได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจนัก ในส่วนของจำนวนโพรไบโอติกส์นั้น (CFU) ยิ่งมีมาก ยิ่งดี อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีจำนวนมาก หากไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มีความทนทานต่อกรดมาก ผลลัพธ์อาจไม่ได้ดีขึ้นมากตามจำนวนโพรไบโอติกส์ที่มากขึ้น
  4. ความสามารถต้านทานกรด: ผลที่จะได้รับจากการทานโพรไบโอติกส์ ไม่ได้ขึ้นกับจำนวนและสายพันธุ์ของโพรไบโอติกส์เท่านั้น แต่ขึ้นกับว่าเมื่อโพรไบโอติกส์เข้าไปในร่างกายแล้ว กว่าจะลงไปถึงลำไส้นั้นจะเหลือรอดกี่% ในกรณีปกติ หากไม่มีคุณสมบัติที่ทนต่อกรด โพรไบโอติกส์ที่ลงไปในลำไส้อาจะเหลือรอดเพียง 70% เทียบอัตราการเหลือรอดมากกว่า 90% หากส่วนผสมนั้นทนต่อกรดได้
  5. ได้รับมาตรฐานการผลิตตามหลัก GMP และ ISO: Good Manufacturing Practices หรือ GMP นั้นเป็นหลักการผลิตที่ช่วยป้องกันการปนเปื้อนและการใช้ส่วนผสมที่ผิดในระหว่างการผลิตซึ่งเน้นไปที่การควบคุมคุณภาพสินค้าที่ถูกผลิต ในขณะที่ ISO คือ มาตรฐานสากล มีวัตถุประสงค์ในการให้หลักเกณฑ์ในการสร้างมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพโดยภาพรวมของผู้ผลิตมากกว่าแค่กระบวนการผลิต

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ กดที่นี่

A: การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาเรื่องการรับประทานโพรไบโอติกส์ส่วนใหญ่ ศึกษาในช่วงปริมาณ 20-40 พันล้าน CFU เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากในร่างกายของมนุษย์มีจุลินทรีย์เป็นหลายล้านๆตัว การรับประทานโพรไบโอติกส์ปริมาณเพียงหลัก หมื่น หรือ แสนล้าน CFU ต่อวันจึงเป็นจำนวนที่น้อยในเชิงเปรียบเทียบ ทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติกส์หลายยี่ห้อที่มีปริมาณมากถึง 100 พันล้าน หรือ 1 แสนล้าน CFU แล้ว แต่การรับประทานเข้าไปมากแล้วจะได้ผลหรือไม่นั้น ขึ้นกับว่าสายพันธุ์ที่รับประทานเข้าไปเหมาะสมกับแต่ละบุคคลหรือไม่

A: อาหารธรรมดาที่เรารับประทานกัน เช่น ชีส ซาวเออร์เคราท์ หรือ นัตโตะ ต่างมีโพรไบโอติกส์ทั้งสิ้น สำหรับผู้ที่รับประทานโพรไบโอติกส์ ในระยะแรก คือ ประมาณ 2-4 สัปดาห์ หากเป็นกรณีที่มีปัญหาความไม่สมดุลของแบคทีเรียในระบบย่อยอาหารมาก โดยส่วนใหญ่จะรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของการทำงานของลำไส้ ซึ่งอาจรวมถึงการมีแก๊สในท้องหรืออุจจาระมีกลิ่นแปลกไป ซึ่งหากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ควรดื่มน้ำและทานผักผลไม้มากขึ้น ร่วมกับการออกกำลัง หลังจากช่วงระยะเวลานี้แล้ว ซึ่งเป็นช่วงปรับสมดุล ความสามารถของระบบย่อยอาหารจะดีขึ้น การทำงานของลำไส้จะถูกปรับให้คงที่และเป็นปกติ หากคุณมีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือมีอาการป่วยที่รุนแรง ควรปรึกษาแพทย์

A: โดยปกติแล้ว แต่ละคนจะมีความหลากหลายในแง่ของปัจจัยทางร่างกาย หรือแม้แต่ความหนักของอาการ ซึ่งการแสดงผลของโพรไบโอติกส์จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ถึง 6 เดือน หรือนานกว่านั้นสำหรับผู้ที่มีความไม่สมดุลของจุลินทรีย์มาก แต่หากรับประทานโพรไบโอติกส์โดยไม่ทราบว่าชนิดที่รับประทานเข้าไปนั้น ตรงกับชนิดที่ร่างกายต้องการเพิ่มเสริมสมดุลจุลินทรีย์หรือไม่ อาจไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

A: ปัญหาใหญ่ของคุณแม่ตั้งครรภ์คงไม่พ้นปัญหาการขับถ่าย ท้องผูก ท้องอืด จากการที่ลำไส้ถูกบีบตัวมากกว่าเดิมทำให้ขับถ่ายยาก การทานตัวช่วยเสริมการทำงานของระบบขับถ่ายอย่าง ‘โพรไบโอติกส์’ จึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ขาดไม่ได้

โพรไบโอติกส์ยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของคุณแม่และลูกในครรภ์ได้อีกด้วย โดยมีการศึกษาพบว่ากลุ่มทารกที่คลอดจากคุณแม่ที่ทานโพรไบโอติกส์อย่างต่อเนื่อง ตอนตั้งครรภ์ เมื่ออายุได้ 2 ปี มีแนวโน้มของการเกิดโรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก น้อยกว่า-ไม่มี เมื่อเทียบกับกลุ่มทารกที่คุณแม่ไม่ได้ทานโพรไบโอติกส์

ซึ่งโพรไบโอติกส์ที่คุณแม่ทานจะสามารถผ่านไปสู่ลูกได้
👶 ได้รับจากคุณแม่ตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์
👶 และได้รับอีกครั้งผ่านกระบวนการคลอดแบบธรรมชาติ

✨การเสริมโพรไบโอติกส์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์จะยิ่งมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น หากได้รับโพรไบโอติกส์ในสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่และทารก เช่น สายพันธุ์ Lactobacillus rhamnosus และ Lactobacillus reuteri ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด หรือ Bifidobacterium lactis ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด

A: Gut microbiome มีความสำคัญอย่างมากในการย่อยสลายอาหารที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ นั่นคือ เส้นใยจากผักและผลไม้ ให้กลายเป็นกรดไขมันสายสั้น (Short-chain fatty acid) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานให้กับเยื่อบุผนังลำไส้ จุลินทรีย์บางชนิดสามารถผลิตเอนไซม์ เพื่อใช้ย่อยสลายเกลือน้ำดี มีผลต่อการเผาผลาญคอเลสเตอรอลและกลูโคสได้มากขึ้น นอกจากความสำคัญของระบบการย่อยและดูดซึมอาหารแล้ว จุลินทรีย์บางชนิดยังสามารถกระตุ้นการผลิตเยื่อเมือกที่บริเวณลำไส้ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง และลดโอกาสที่แบคทีเรียชนิดไม่ดีจะเข้าสู่กระแสเลือดได้อีกด้วย

A: ความเครียด นอนน้อย ทานอาหารหวาน ทานอาหารแปรรูป ไม่ออกกำลัง ทานยาปฏิชีวนะ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนทำลายสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ของท่าน ซึ่งส่งผลให้ลำไส้ไม่แข็งแรง

วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าลำไส้ไม่แข็งแรง มีดังนี้

  1. ท้องไส้ปั่นป่วน

หากคุณท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย แน่นท้อง แสบท้องบ่อย นั่นอาจแปลว่าลำไส้ของท่านมีปัญหาการดูดซึมอาหารและกำจัดของเสีย

  1. น้ำหนักตัวเปลี่ยนง่าย

น้ำหนักขึ้นหรือลง โดยไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต เช่น การทานอาหาร การออกกำลังกาย อาจเป็นสัญญาของลำไส้ไม่แข็งแรง เนื่องจากลำไส้มีปัญหาในการดูดซึมสารอาหาร คุมน้ำตาล ฯลฯ มีสาเหตุมาจากภาวะดื้ออินซูลิน หรือมีจุลินทรีย์ไม่สมดุล ส่งผลให้ลำไส้ไม่แข็งแรง

  1. ติดทานรสหวาน

เมื่อจุลินทรีย์ตัวดีของท่านลดจำนวนลง อาจทำให้ท่านอยากทานอาหารหวานมากขึ้น ซึ่งการทานอาหารหวานเพิ่มเข้าไปยิ่งทำลายสุขภาพลำไส้เพิ่มขึ้น

  1. มีปัญหาการนอน อ่อนเพลียบ่อย

เซโรโทนินทำหน้าที่คอยส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทภายในสมอง รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก การนอน เมื่อฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งถูกผลิตจากลำไส้เป็นหลัก เกิดไม่สมดุลเพราะลำไส้ทำงานไม่ปกติ จะทำให้นอนหลับยาก นอนไม่มีคุณภาพ เหนื่อยอ่อนเพลีย รวมไปถึงเพิ่มอารมณ์ความรู้สึกในแง่ลบ ความเครียด อาการหงุดหงิดต่างๆ

การเพิ่มเซโรโทนินในร่างกาย สามารถทำได้โดยการออกกำลัง การรับแสงแดด การรับประทานอาหารซึ่งมีสารทริปโตเฟน เช่น ถั่ว ธัญพืช เต้าหู้ ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากนมและชีส ฯลฯ

  1. ผิวหนังอักเสบ ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ 

ลำไส้ที่ไม่แข็งแรง อาจบวมอักเสบ เพิ่มโอกาสที่จุลินทรีย์หรือสารพิษบางอย่างรั่วไหลออกมาจากผนังลำไส้ ออกมาสู่ส่วนอื่นๆของร่างกาย ส่งผลให้เกิดการระคายผิวหนัง รวมถึงภูมิแพ้ทางเดินหายใจ น้ำมูกไหล จาม ฯลฯ

  1. ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ลำไส้ที่เสียสมดุลอาจมีอาการอักเสบ รวมถึงส่งผลให้การทำงานของภูมิคุ้มกันผิดพลาด

ซึ่งท่านสามารถช่วยให้ลำไส้ของท่านแข็งแรงขึ้นได้ โดยการสร้างสมดุลให้จุลินทรีย์ลำไส้ของท่าน ปรับพฤติกรรมชีวิต รวมถึงเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โพรไบโอติกส์ อย่างแม่นยำ เริ่มจากการตรวจสมดุลจุลินทรีย์ลำไส้กับเรา เพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้

A: ประโยชน์ของการตรวจ DNA จุลินทรีย์ในคน (Gut Microbiome DNA) ที่การตรวจ DNA ของคนทำไม่ได้เพราะคุณเปลี่ยน DNA เปลี่ยนไม่ได้ แต่จุลินทรีย์ในตัวคุณเปลี่ยนได้
 

DNA subunits จับตัวรวมกันเป็นสาย DNA ในสาย DNA จะมีส่วนที่ทำให้เกิดการแสดงออก เรียกว่ายีน (แสดงออก เช่น ผิวเหลือง ตาโต ตัวเตี้ย) และยีนนั้น จะอยู่ในโครโมโซม สิ่งมีชีวิตเดียวกันจะมีโครโมโซมเท่ากัน โดยจำนวนของโครโมโซมไม่ได้สัมพันธ์กับขนาดของสิ่งมีชีวิต หรือเรียกได้ว่า โครโมโซมนั้นคือรหัสพันธุกรรมซึ่งอยู่ในเซลล์ เซลล์จึงเป็นตัวกำหนดลักษณะ ทำหน้าที่ทางโครงสร้างและควบคุมการทำงานของสิ่งมีชีวิต ซึ่งการแสดงออกของแต่ละเซลล์ถูกกำหนดขึ้นจาก DNA

การตรวจ DNA ของคน คือการดูรหัสทางพันธุกรรมของคน เพื่อหาลักษณะทางพันธุกรรม เช่น พรสวรรค์ โรคเสี่ยง เชื้อชาติ ฯลฯ ด้วยความที่คนมี DNA ชุดเดียว การตีความ DNA ของคน จึงมีประโยชน์ในการใช้วิเคราะห์ข้อเด่น และข้อด้อยจากลักษณะทางพันธุกรรมของคนนั้นๆ ซึ่งนำไปสู่คำแนะนำการดำเนินชีวิต การโภชนาการ ฯลฯ เพื่อส่งเสริมจุดเด่นและลดความเสี่ยง ซึ่งแม้จะมีประโยชน์ แต่คำแนะนำเหล่านั้นไม่ทำให้คนปรับเปลี่ยน DNA ของคนได้

ในขณะที่ร่างกายของเรามียีนตัวเองราว 20,000 ยีน แต่มียีนจุลินทรีย์มากถึง 2 ล้าน – 20 ล้านยีน จุลินทรีย์แต่ละชนิด จะมีรหัสพันธุกรรมไม่เหมือนกัน ส่งผลให้เซลล์ไม่เหมือนกัน จุลินทรีย์แต่ละชนิดจึงมีคุณลักษณะแตกต่างกัน ทั้งที่ดีกับร่างกายและไม่ดีกับร่างกาย การเข้าใจความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในตัวคน จากการตรวจ DNA ของจุลินทรีย์แต่ละชนิด ซึ่งทำให้เราทราบความเสี่ยงหรือสาเหตุของกลุ่มอาการผิดปกติต่างๆ จึงนำมาซิ่งแนวทางการปรับจุลินทรีย์ของคน โดยการเลือกรับประทานโพรไบโอติกส์ หรือจุลินทรีย์ตัวดี ที่มีสายพันธุ์ และปริมาณ แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของคนแต่ละคน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคขึ้นได้

ในตัวคนเรา มีเซลล์จุลินทรีย์ มากถึง 100 ล้านล้าน ในขณะที่เซลล์ของคนเรา มีเพียง 30 ล้านล้าน เท่ากับว่าเซลล์ของจุลินทรีย์ในตัวคน มีมากกว่าเซลล์ของคน ถึง 3 เท่าเศษ เพราะฉะนั้นการทำความเข้าใจจุลินทรีย์ในตัวคน จึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการทำความเข้าใจ DNA ของคน โดยเซลล์ของจุลินทรีย์ในตัวคนนั้น อยู่ที่ลำไส้มากกว่าครึ่ง หากต้องการเข้าใจจุลินทรีย์ในตัวคน การตรวจอุจจาระ จึงเป็นวิธีที่ตรวจจุลินทรีย์ในตัวคนได้แม่นยำที่สุด

การตรวจ DNA ของคน เทียบกับ การตรวจ DNA จุลินทรีย์ในตัวคน จึงเป็นคนละอย่างกัน แม้จะมีบางส่วนคาบเกี่ยวกัน แต่การตรวจสองวิธีนี้ ทดแทนกันไม่ได้ทั้งในแง่ของผลที่ได้รับ หรือในแง่ของข้อสรุปเพื่อนำไปสู่การดูและรักษาสุขภาพ

และไม่ว่าอย่างไร DNA ของคนจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง แต่การที่เราตรวจ DNA ของจุลินทรีย์ในร่างกายของคน เราทราบว่าจะเปลี่ยนจุลินทรีย์ในร่างกายของคนเหล่านั้นอย่างไรให้ส่งผลให้คนๆนั้นมีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งเราสามารถตรวจจุลินทรีย์ซ้ำๆได้ เพื่อดูว่าในแต่ละช่วงเรามีความเสี่ยงทางสุขภาพจากลักษณะจุลินทรีย์ที่เสียสมดุล เหมือนเดิมหรือแตกต่างไปอย่างไร เนื่องจากจุลินทรีย์ในร่างกายคนนั้น เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาจากพฤติกรรม แต่จะเปลี่ยนลงถึงระดับโครงสร้างได้จะต้องเกิดจากการดำเนินพฤติกรรมบางอย่างซ้ำๆเป็นระยะเวลา เราจะแนะนำให้ตรวจจุลินทรีย์ซ้ำได้ทุก 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อหาวิธีคืนสมดุลจุลินทรีย์ที่เสียสมดุลในช่วงแตกต่างกันไปอย่างเหมาะสม

A: ภูมิคุ้มกันนั้นมีสองประเภท ได้แก่

  1. ภูมิคุ้มกันทั่วไป เป็นกลไกปกติของร่างกายในการป้องกันเชื้อโรค เช่น เยื่อเมือกในอวัยวะต่างๆ รวมถึงผิวหนังของเรา
  2. ภูมิคุ้มกันเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายเราสร้างมาโดยมีกลไกเฉพาะในการทำลายเชื้อโรคแต่ละชนิด

ลำไส้เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายอยู่ในลำไส้ ปกคลุมอยู่บนปุ่มเล็กๆที่กระจายอยู่บนผนังลำไส้ เซลล์ภูมิคุ้มกันทั้งหมด 70% ในร่างกายของคนเราอยู่ในลำไส้ จุลินทรีย์ที่สมดุลนั้น ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันของเราแข็งแรง หากเซลล์ภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแอ เมื่อเชื้อโรคเข้ามาสู่ร่างกาย เซลล์ภูมิคุ้มกันจะต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ไม่ได้ นอกจากนั้นจุลินทรีย์ที่สมดุล ยังช่วยส่งสัญญาณให้ระบบภูมิคุ้มกันในตัวเราทำงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำอีกด้วย

หากเรามีภูมิคุ้มกันที่ทำงานได้ดี สมดุล เราจะมีความต้านทานต่อเชื้อโรค มีภูมิคุ้มกันที่ทำงานแม่นยำ จะลดโอกาสเกิดโรคSLE ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ภูมิผิวหนังอักเสบ รวมถึงภูมิแพ้อาหาร และโรคติดเชื้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ COVID-19 และอื่นๆอีกมากมาย

การใช้ชีวิตของคนเราในปัจจุบัน โดยเฉพาะจากพฤติกรรมการกินของหวาน ของมัน เนื้อแดง อาหารแปรรูป การใช้ชีวิตที่สะอาดเกินไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาปฏิชีวนะ ทำลายสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายเราอย่างใหญ่หลวง เราจึงควรหันกลับมาดูแลจุลินทรีย์ของเราให้สมดุล เพื่อลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังต่างๆจากภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติ

บทความสรุปจากรายการ คุยสนุก เรื่องสุขภาพ โดย นพ.พิชัย นำศิริกุล

A: พฤติกรรมการกินอาหารไขมันสูง เส้นใยน้อย ความเครียด และพฤติกรรมไม่ดีอื่นๆ ซึ่งทำลายสมดุลจุลินทรีย์ ทำให้จุลินทรีย์ตัวร้ายนั้นเพิ่มจำนวนมากขึ้น เมื่อจุลินทรีย์ตัวร้ายเหล่านี้เพิ่มจำนวนจะทำให้สารพิษในร่างกายโดยเฉพาะในลำไส้เรามีมากขึ้น สารพิษเหล่านี้จะถูกดูดซึม และแพร่ไปสู่ส่วนต่างๆ จนทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในร่างกาย เกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิก (metabolic syndrome)  ซึ่งนำไปสู่โรคยอดฮิตเรื้อรังในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันสูง โรคหลอดเลือด และโรคหัวใจ ฯลฯ

การบรรเทาอาการเหล่านี้ด้วยการบริโภคจุลินทรีย์ชนิดดี หรือ โพรไบโอติกส์นั้น ยังไม่ได้ถูกศึกษาอย่างกว้างขวางมากนัก งานวิจัยส่วนใหญ่ทำในสัตว์ ยังไม่มีบทสรุปที่แน่ชัด แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การมีพฤติกรรมชีวิตที่ดี ตั้งแต่การเลี่ยงรับประทานอาหารหวาน มัน เนื้อแดง สุรา ยาปฏิชีวนะ ไม่เครียด พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกาย ยังคงเป็นวิธีที่ช่วยให้คนเราสุขภาพดี และแม้ว่าจะยังไม่มีการสรุปถึงสายพันธุ์ของโพรไบโอติกส์ที่แน่ชัดในการรักษาอาการเหล่านี้ แต่การบำรุงจุลินทรีย์ในร่างกายให้อยู่ในจุดสมดุลเสมอ สามารถลดความเสี่ยงการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิกได้

บทความสรุปจากรายการ คุยสนุก เรื่องสุขภาพ โดย นพ.พิชัย นำศิริกุล

A: ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ สัมพันธ์กับจุลินทรีย์ในร่างกายเราอย่างไร ปัจจุบันมีงานวิจัยและการศึกษามากมาย ที่โชว์ให้เห็นถึงการใช้จุลินทรีย์ชนิดดี (probiotics) ในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายเรา เพื่อปรับปรุงระบบทางเดินอาหารของเรา

อาการลำไส้รั่ว หรือ leaky gut syndrome เกิดจากการที่เยื่อบุผนังลำไส้อักเสบ ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเสีย ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดช่องทางที่สิ่งแปลกปลอม สารพิษ หลุดเข้าไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ ผิวหนังอักเสบ หอบหืด รวมถึงการแพ้อาหาร งานวิจัยหลายชิ้นสรุปว่าการปรับสมดุลจุลินทรีย์ โดยเฉพาะการรับประทานจุลินทรีย์ชนิดดี ช่วยบรรเทาอาการลำไส้รั่วนี้ได้ ซึ่งส่งผลให้อาการอื่นๆที่มีสาเหตุร่วมจากลำไส้รั่วนั้นทะเลาลงได้ แม้กระทั่งโรคยอดฮิตอย่างท้องผูก ซึ่งแพทย์ลงความเห็นกันว่าเกิดจากลำไส้ใหญ่ที่ทำงานไม่ปกติคือต้นเหตุ การสร้างความแข็งแรงให้ลำไส้ใหญ่ก็อาจเป็นวิธีการรักษาอาการนี้ให้กับคนส่วนใหญ่ได้

การทำให้ลำไส้แข็งแรง สามารถทำได้ด้วยการสร้างสมดุลจุลินทรีย์ การรับประทาน probiotics ต้องทำควบคู่กับการปรับพฤติกรรมอื่นๆด้วย เช่น รับประทานอาหารให้ตรงเวลา รับประทานผักผลไม้ ไม่เครียด ออกกำลังกาย เป็นต้น

การสร้างสมดุลจุลินทรีย์และบรรเทาอาการเหล่านี้ ไม่ได้หมายความว่า เราจะรับประทาน probiotics สายพันธุ์อะไรก็ได้ เพราะ probiotics นั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ และแต่ละสายพันธุ์มีหน้าที่และส่งผลต่อร่างกายเราต่างกันไป การเลือกสายพันธุ์ probiotics ให้เหมาะสมกับเรานั้น เราควรรู้จักจุลินทรีย์ในร่างกายเราก่อน เพื่อจะได้เลือก probiotics ที่เหมาะสมกับเรา

บทความสรุปจากรายการ คุยสนุก เรื่องสุขภาพ โดย นพ.พิชัย นำศิริกุล

A: ถ้าหากเรานึกถึงลำไส้ คนส่วนใหญ่จะนึกถึงลำไส้ในแง่ของอวัยวะ ที่ทำหน้าที่เผาผลาญ และดูดซึมสารอาหาร แต่น้อยคนนักที่จะทราบ ว่าลำไส้นั้นอัศจรรย์แค่ไหน

ลำไส้นั้นเหมือนสมองที่ 2 ของร่างกาย มีระบบประสาทของมันเอง ทำงานได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องให้สมองสั่งการ และที่สำคัญที่สุด ระบบประสาทของลำไส้ควบคุมลำไส้ และฮอร์โมนที่มีผลต่ออวัยวะร่างๆในร่างกายรวมถึงสมอง ซึ่งการติดต่อกันระหว่างระบบประสาทลำไส้และสมองนี้ เรียกว่า gut-brain axis โรคหลายๆโรคที่เกี่ยวกับระบบสมอง จึงมีที่มาจากความอ่อนแอของลำไส้ ลำไส้ยังเป็นบ้านที่ใหญ่ที่สุดของจุลินทรีย์ในร่างกายของเรา โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ จุลินทรีย์ที่สมดุล ทำให้ลำไส้แข็งแรง และทำงานได้อย่างปกติ

งานวิจัยหลายชิ้น ได้ค้นพบว่า คุณภาพการนอนที่แย่ อารมณ์หงุดหงิดแปรปรวน ความเครียด โรคซึมเศร้า รวมถึง โรคอัลไซเมอร์ ฮอร์โมนหลายชนิดที่ส่งผลกับการทำงานของสมอง ผลิตโดยลำไส้ เช่น เซโรโทนิน หรือฮอร์โมนสร้างความสุข หากเซโรโทนินมีปริมาณต่ำเกินไป จะทำให้เกิดอาการซึมเศร้า นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาถึงความเชื่อมโยงของโรคสมองเสื่อมกับสารพิษที่ถูกปล่อยออกมาจากจุลินทรีย์ตัวร้ายในลำไส้อีกด้วย

แม้กระทั่งความหิว ความอิ่ม ก็เกิดจากการสื่อสารด้วยฮอร์โมนระหว่างสมองและระบบทางเดินอาหาร ฮอร์โมนเลปตินนี้ถูกผลิตโดยลำไส้ จะส่งสัญญาไปให้สมองทำให้เรารู้สึกอิ่ม หากลำไส้แปรปรวน ฮอร์โมนชนิดนี้ทำงานผิดพลาด เราก็จะกินอาหารมากเกิน จนอาจทำให้น้ำตาลสูง เกิดโรคเบาหวาน เกิดโรคอ้วนต่อไป

จะได้เห็นว่าระบบประสาทลำไส้มีความเชื่อมโยงกับสมองของเราอย่างมาก ระบบประสาทลำไส้ จะทำงานได้ดี หากจุลินทรีย์ของเราสมดุล เราจึงควรดูแลจุลินทรีย์ของเราตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่ความไม่สมดุลของจุลินทรีย์จะนำไปสู่โรคเรื้อรังที่ยากจะรักษา ในตอนต่อไป ผู้เขียนจะเล่าถึงความเชื่อมโยงระหว่างจุลินทรีย์ในลำไส้ของเรากับระบบทางเดินอาหาร

บทความสรุปจากรายการ คุยสนุก เรื่องสุขภาพ โดย นพ.พิชัย นำศิริกุล

A: วิธีที่ชัดเจนที่สุด คือ การตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้ (Gut Microbiome Test) ซึ่งเป็นการตรวจทั้งด้านปริมาณ และชนิดของจุลินทรีย์ในลำไส้โดยผลตรวจทดสอบ จะแจ้งถึงค่าความสมดุลว่าอยู่ในเกณฑ์ค่าเฉลี่ยของผู้มีสุขภาพแข็งแรงของคนที่อาศัยอยู่ในไทย หรือ ตามถิ่นที่อยู่ต่างๆที่ตรงกับผู้รับการตรวจหรือไม่

จากความไม่สมดุลดังกล่าว จะสามารถทราบโอกาสที่จะเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภูมิแพ้ ผิวหนังอักเสบ มีไขมันมาก ท้องไส้แปรปรวน ความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ การขับถ่ายมีปัญหา ฯลฯ 

หากตรวจพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุลแล้ว เราสามารถเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์สายพันธุ์ที่เหมาะสม ที่จะปรับความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้
 
ทั้งนี้การตรวจสุขภาพลำไส้นี้ ควรทดสอบอย่างสม่ำเสมอทุก 3 – 6 เดือน เนื่องจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้นั้นเกิดขึ้นได้เสมอจากการใช้ชีวิต เช่น นอนน้อย รับประทานอาหารเผ็ด ไขมันสูง น้ำตาลสูง มีสารกันบูด การไม่ออกกำลังกาย ความเครียด การรับประทานยาปฏิชีวนะ และผัก ผลไม้น้อย การดื่มสุรา ฯลฯ แต่จะเกิดระดับ structural change ได้ต่อเมื่อเกิดพฤติกรรมซ้ำๆกัน 3-6 เดือนขึ้นไป 
A: ความเครียด นอนน้อย ทานอาหารหวาน ทานอาหารแปรรูป ไม่ออกกำลัง ทานยาปฏิชีวนะ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนทำลายสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ของท่าน ซึ่งส่งผลให้ลำไส้ไม่แข็งแรง
 
วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าลำไส้ไม่แข็งแรง มีดังนี้
1. ท้องไส้ปั่นป่วน
หากคุณท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย แน่นท้อง แสบท้องบ่อย นั่นอาจแปลว่าลำไส้ของท่านมีปัญหาการดูดซึมอาหารและกำจัดของเสีย
 
2. น้ำหนักตัวเปลี่ยนง่าย น้ำหนักขึ้นหรือลง โดยไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต เช่น การทานอาหาร การออกกำลังกาย อาจเป็นสัญญาของลำไส้ไม่แข็งแรง เนื่องจากลำไส้มีปัญหาในการดูดซึมสารอาหาร คุมน้ำตาล ฯลฯ มีสาเหตุมาจากภาวะดื้ออินซูลิน หรือมีจุลินทรีย์ไม่สมดุล ส่งผลให้ลำไส้ไม่แข็งแรง
 
3. ติดทานรสหวาน เมื่อจุลินทรีย์ตัวดีของท่านลดจำนวนลง อาจทำให้ท่านอยากทานอาหารหวานมากขึ้น ซึ่งการทานอาหารหวานเพิ่มเข้าไปยิ่งทำลายสุขภาพลำไส้เพิ่มขึ้น 
 
4. มีปัญหาการนอน อ่อนเพลียบ่อย
  • เซโรโทนินทำหน้าที่คอยส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทภายในสมอง รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก การนอน เมื่อฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งถูกผลิตจากลำไส้เป็นหลัก เกิดไม่สมดุลเพราะลำไส้ทำงานไม่ปกติ จะทำให้นอนหลับยาก นอนไม่มีคุณภาพ เหนื่อยอ่อนเพลีย รวมไปถึงเพิ่มอารมณ์ความรู้สึกในแง่ลบ ความเครียด อาการหงุดหงิดต่างๆ

5. ผิวหนังอักเสบ จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก

ลำไส้ที่ไม่แข็งแรง อาจบวมอักเสบ เพิ่มโอกาสที่จุลินทรีย์หรือสารพิษบางอย่างรั่วไหลออกมาจากผนังลำไส้ ออกมาสู่ส่วนอื่นๆของร่างกาย ส่งผลให้เกิดการระคายผิวหนัง รวมภูมิแพ้ทางเดินหายใจ จาม น้ำมูกไหล ฯลฯ รวมถึงส่งผลให้การทำงานของภูมิคุ้มกันผิดพลาด

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart
No products in the cart.